Monday, June 22, 2015

กรมสรรพากร

จัดเก็บ "ภาษีอากร" ในราชอาณาจักรไทย

สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษีอากรภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บแต่ละประเภท จะกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้นครอบคลุมผู้มีรายได้ที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่างๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่างกันไป

ประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 
ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี แงไม่ได้แบ่งละกองมรดกที่ยั
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การค้าอสังหาริมทรัพย์
5. อากรแสตมป์
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน